ระดับความเข็ง 9 มีหลายสี
คอลันดัมเป็นพลอยที่มีคุณภาพดีที่สุดประเภทหนึ่งที่นำมาใช้ทำเป็นเครื่องประดับเพราะมีความแข็งและความทนทานต่อการขีดข่วนได้เป็นอย่างดี คำว่า "คอรันดัม" มาจากภาษาสันสกฤตคำว่า "คูริวินดา" (Kurivinda) รูบี้ (Ruby) และซัฟไฟร์ (Sapphire) มาจากภาษาลาติน ซึ่งมีความหมายว่า สีแดงและสีน้ำเงิน พลอยคอรันดัมมีประวัติมายาวนานตามแหล่งกำเนิดของประเทศต่างๆ ด้วยเหตุที่คอรันดัมเป็นพลอยที่มีความนิยมกันมากและราคาสูง จึงได้มีผู้คิดค้นผลิตคอรันดัมสังเคราะห์ขึ้นมา ทำให้ห้องปฏิบัติการ (Laboratory) ต้องมีความละเอียดอ่อนมากขึ้นในการวิเคราะห์แยกพลอยคอรันดัมออกจากคอรันดัมสังเคราะห์ ซึ่งการวิเคราะห์ได้แน่นอนต้องอาศัยตำหนิภายใน (Inclusions) ซึ่งจะเป็นตัวแยกที่ดี
การวิเคราะห์คอรันดัมธรรมชาติ
คอรันดัมธรรมชาติหมายถึงพลอยที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ มีหลายสี ความสะอาดและโครงสร้างผลึกที่ได้มาไม่มีการเสริมเติมแต่งแต่อย่างใด สิ่งที่มนุษย์เติมแต่งได้คือ การเจียระไนและขัดมัน (Cutting+Polishing) เพื่อให้เกิดความสวยงามขึ้นแก่พลอยนั้นๆ
ตำหนิภายใน (Inclusioins) ของคอรันดัมที่ไม่ผ่านการเผา
- เส้นตรงหักมุมส่วนมากจะเป็นรูปหกเหลี่ยมตามรูปผลึกธรรมชาติ อาจมีเส้นเข็มหรือคล้ายฝุ่นละเอียดๆ อยู่บริเวณเส้นตรงหักมุม เส้นตรงหักมุมอาจะเป็นแถบหนา หรือบางแตกต่างกันไปและจะต้องไม่เป็นเส้นโค้งหรือแถบโค้ง ภายในเนื้อพลอย ถ้าเป็นพลอยก้อนจะเห็นเส้นหักมุมขนานกับหน้าผลึก
- เส้นเข็มรูทิลและเส้นไหม จะก่อตัวเป็นแนวขนานกับผลึก 6 เหลี่ยม ตัดกันทำมุม 60 x 120 องศา บนระนาบเรียบของฐานผลึก
- ตำหนิของแข็ง (ผลึก) ชนิดต่างๆเช่น เซอร์คอน (Zircon) คาลไซด์ (Calcite) ยูเรเนียม โพโรโคร (Cranium Pyrochiore) ไมก้า (Mica) อะพาไทท์ (Apatite) สปินิล (Spinel) เป็นต้น จะเห็นรอยตำหนิชัดเจน
- ตำหนิของเหลวหรือก๊าซที่อยู่ในทื่อกลวง เรียกว่าผลึกกลวงใส (Negative Crystals) อาจเป็น 2 หรือ 3 สถานะ (2-hase or 3 Phase) ก็ได้
- รอยตำหนิของเหลวในรูปแบบต่างๆ ส่วนมากจะเห็นเป็นรอยนิ้วมือ (Fingerprint) หรือเป็นแพขนนก (Feather) ซึ่งเป็นการเรียกรอยแตกต่างๆถายในลักษณะที่เห็นอาจเป็นม่นพริ้วบางๆ (Wispy) มักดูคล้ายฟลักซ์ (Flux) ในพลอยสังเคราะห์ แต่อย่างไรก็ตาม เราอาจสังเกตุเห็นผิวของพลอยมักจะมีรอยตำหนิของเหลวติดอยู่ ถ้าพูดถึงพลอยธรรมชาติรอยตำหนิเกิดขึ้นต้องใช้เวลายาวนาน
- โพลี่วินเทติก ทวินนิ่ง (Polysynthetic Twinning) เส้นระนาบแฝดตามแนวหน้าผลึกรอมโบฮีดรอน Rhombohedron) ตัดกั 87 x 93 องศา ซึ่งจะเห็นจากหน้าพลอยได้หลายทางด้วยกัน
- เส้นเข็มโบไมท์ (Boehmite) มีลักษณะยาวสีขาวอาจตัดหรือไม่ตัดกันบนระนาบแฝด ทิศทางและมุมจะอยู่ตรงกับแนวรอมโบฮีดรอน (Rhombohedron)
- รอยแยก (Parting) ตามแนวฐานผลึก (Basal Plane) และแนวรอมโบฮีดรอน
- สเปคตรัมของพลอยคอรันดัม ถ้าเป็นซัฟไฟร์สีน้ำเงิน เขียว เหลือง ที่มาจากไทย ออสเตเลีย มักจะพบเส้นดูดกลืนชัดเจนที่ 4500 4600 4700 น.อ. (ถ้าพลอยผ่านการเผามาอาจจะมีผลให้การดูดกลืนอ่อนลงได้) ถ้าเป็นพลอยมาจากซีลอนมักจะไม่มีเส้นดูดกลืนนี้เพราะส่วนใหญ่แล้วพลอยจะผ่านการเผามาแล้วทั้งสิ้น ส่วนของพม่าอาจพบแค่เส้น 4500 น.อ. หรือไม่มีสำหรับทัมทิมจะเป็นธาตุโครเมียม (Chromium) สเปคตรัมจะเหมือนกันทุกแหล่งรวมทั้งพลอยสังเคราะห์ด้วย
ตำหนิภายใน (Inclusions) ของคอรันดัมที่ผ่านการเผา
- เส้นไหมที่สลายตัว (Partially Dissolved Silk) การใช้ความร้อนในการเผามีผลทำให้เส้นไหมแตกออกเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ ดูเหมือนฝุ่น แต่ยังคงโครงสร้างเป็นเส้นไหมตัดกัน บางครั้งดูเหมือนหมอกหนาๆ สีขาวเกาะกันเป็นกลุ่มๆ เห็นได้ชัดในพลอยที่เผาแล้ว (โดยเฉพาะพลอยจากซีลอน) หมอกหนาๆนี้อาจเกาะกันและเรียงตัวตามแถบสีอยู่ขนานกับหน้าผลึกพลอย
- ผลึกกลวง (Nagative Crystals) ซึ่งอาจเกิดจากผลึกต่างๆแตกออกเนื่องจากได้รับความร้อนขณะเผาพลอย รูปร่างอาจเป็นจุดเล็กๆ คล้ายโดนัท เนื่องจากการเกาะกลุ่มกันของผลึกเมื่อเย็นตัวลง มักจะพบในพลอยของไทยและกัมพูชา
- ผลึกล้อมรอบด้วยรอยแตกวาวเป็นรูปวงแหวน (Tension Haloes) วงแหวนนี้เป็นรอยแตกที่เกิดจากการขยายตัวของผลึกเมื่อได้รับความร้อน
- จะไม่เห็นร่องรอยสนิม (Iron Stain) สีส้ม-แดงในรอยแตกของพลอย โดยเฉพาะคอรันดัมของไทย/กัมพูชา รอยสนิมนี้มักเห็นได้ในพลอยที่ยังไม่เผาเนื่องจากใต้ดินจะมีแร่เหล็กมาก ดังนั้นอาจแทรกติดอยู่ในพลอยคล้ายรอยสนิมแต่ธาตุเหล็กจะหายไประหว่างทำการปรับปรุงคุณภาพพลอยเช่น การเผาเป็นต้น
- พลอยบางชนิดเวลานำเข้าเครื่องอุลตร้าไวโอเลท ผลลัพธ์ของการเรืองแสดงอาจจะแตกต่างกันได้ ถ้าผลอยถูกเผาด้วยความร้อนมักจะเห็นเป็นสีขาวขุ่นๆ หรืออกสีน้ำเงินขุ่นๆ
- พลอยสีเหลืองหรือสีส้มที่ผ่านการเผา บางครั้งจะเป็นสีน้ำตาล หรือสีที่เข้มกว่าเก่า แต่เมื่อพลอยเย็นตัวลงสีจะกลับสู่สีเดิม วิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้ได้ผลที่ดีวิธีหนึ่งสำหรับการเช็คพลอยเผาของศรีลังกา
- แถบสีของพลอยที่ถูกเผาแล้วจะเห็นชัดเจนและดูคล้ายมีฝุ่นเกาะเป็นกลุ่มเป็นหย่อมๆถายในระหว่างแถบสี
- แผลเป็นหลุมที่ผิว รอยธรรมชาติ (Natural) และบริเวณที่ไม่ถูกเจียระไนอาจจะเห็นร่องรอยการเผาหลงเหลืออยู่ซึ่งสามารถมองเห็นได้โดยใช้ฟลูออเรสเซ็นส์ (ไฟขาว) สำหรับพลอยทับทิมพม่าที่ยังไม่เผา บางครั้งอาจเห็นตำหนิคล้ายคลื่นความร้อนบริเวณของผิวพลอย
คอรันดัมที่ผ่านกรรมวิธีปรับปรุงคุณภาพ (Enhancement)
- การเผา (Heat Treatment) จุดประสงค์เพื่อเพิ่มหรือถอยสี ทำให้พลอยโปร่งใสขึ้น ทำให้สตาร์ดูชัดขึ้น
- การฉายสี (Irradiation) อาจทำให้พลอยเปลี่ยนจากสีเหลืองอ่อนเป็นเหลืองเข้ม แต่สีที่ได้จะไม่ถาวร
- การซ่านสี (Diffusion) สามารถซ่านสีเข้าไปในพลอยได้เฉพาะผิวภายนอกเท่านั้น การซ่านสีทำให้พลอยดูมีสีเรียบทั้วทั้งเม็ดหรืออาจทำให้มีสตาร์ (Asterism) แต่สีที่อยู่ผิวนอกจะหายไปเมื่อถูกเจียระไน
สตาร์คอรันดัม (Star Corundum)
ทับทิมและซัฟไฟร์แบบที่มีปรากฏการณ์สตาร์ได้รับความนิยมกันมาก สตาร์เกิดขึ้นจากตำหนิเส้นเข็มรูทิลภายในผลึกคอรันดัมเรียงตัวกันเป็นระนาบมากกว่า 1 ระนาบและตัดกัน เมื่อใช้แสงส่องดูแสงจะสะท้อนจากตำหนิเป็นเป็นแฉกหรือสตาร์ (Start) พลอยชนิดนี้จะต้องเจียระไนเป็นหลังเบี้ยเพราะจะทำให้เห็นเส้นสีขาวตัดกัน เห็นเป็น 6 แฉกชัดเจนบนด้านที่เป็นโดมโค้ง ราคาพลอยขึ้นอยู่กับสีและความคมชัดของสตาร์ซึ่งต้องได้สัดส่วนสวยงามชนิดของสตาร์ขึ้นอยู่กับสีโดยแบ่งออกเป็น
สตาร์ทับทิม (Star Ruby)
สตาร์ทับทิมจะมีสีแดง ถึงแดงอมม่วง โทนสีตั้งแต่อ่อนถึงเข้มลักษณะโปร่งใสถึงทึบแสง สตาร์ทับทิมที่สวยงามจะต้องมีลักษณะดังนี้
- การเจียระไน ความหนาของ Girdle ลงมามีน้ำหนักไม่เกิน 1/4 หรืออาจน้อยกว่า ของน้ำหนักทั้้งหมด
- สี จะต้องเสมอและเข้มสด กึ่งโปรงใส
- สตาร์ มีขาที่คมและชัดอยู่ระหว่างกึ่งกลางของพลอยและขาจะต้องจรด Girdle ด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง เส้นสตาร์สามารถเคลื่อนไปมาและดูลึก
สตาร์ซัฟไฟร์ (Star Sapphires)
สตาร์ซัฟไฟร์ ชนิดเรียกตามสีของพลอย ลักษณะกึ่งโปรงแสงถึงทึบแสง สตาร์ซัฟไฟร์น้ำเงิน (Blure Start Sapphires) สตาร์ซัฟไฟร์ดำ (Black Star Sapphires) ถือว่าธรรมดาที่สุด ซัฟไฟร์สีส้ม เหลือง ไม่มีสตาร์ ส่วนสตาร์ซัฟไฟร์เขียวมีบ้างแต่หายาก แต่ถ้าขาสตาร์เป็นสีทองในพลอยสีดำจะมีค่ามากกว่าขาสีขาวคนไทยเรียกว่าสตาร์บุษ (Golden Star) มีความเชื่อกันว่าขาของสตาร์เป็นตัวแทนของศรัทธา ความหวัง และความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ราคาพลอยขึ้นอยู่กับสีและความชัดของสตาร์ซึ่งต้องได้สัดส่วนสวยงาม ลักษณะสตาซัฟไฟร์ที่ดีต้องมีดังนี้
- การเจียระไน ความหนาของ Girdle ลงมาได้ประมาณ 1/4 ของน้ำหนักทั้งเม็ด
- สี กึ่งโปรงใส สีเสมอและเข้มสด
- สตาร์ สามารถเห็นได้ง่ายและชัด อยู่ระหว่างกึ่งกลางของพลอยขาของสตาร์จะต้องจรดจาก Girdle ด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง สตาร์เคลื่อนไปมาได้และดูลึ
ชนิดและชื่อทางการค้า
- ทับทิม (Ruby)
- ไพลิน (Blue Sapphire)
- บุษราคัม (Yellow or Golden Sapphires)
- พัดพารัดชา (Padparadscha)
- ไฮยาธินธ์ (Hyacinth)
- เขียวส่อง (Green Sapphires)
- ซัฟไฟร์ม่วง (Amethystine Sapphires)
- ซัฟไฟร์ชมพู (Pink or Rose Sapphires)
- ซัฟไฟร์คล้ายอเล็กซานไดรท์ (Alexandrite-like Sapphires)
- ซัฟไฟร์ไร้สี (Colourless Sapphires)
- พลอยสตาร (Star Supphires)