รูปแบบของการเจียระไนอัญมณี (Cut) อัญมณีที่ได้รับการเจียระไนและขัดเงาให้มีผิวเรียบแล้ว เรียกว่า การแต่งเหลี่ยม (Facet) แบ่งออกเป็นลักษณะต่างๆดังนี้
- แบบเหลี่ยมเกสร (Brilliant cut) มี 57-58 เหลี่ยม ซึ่งปัจจุบันเป็นที่นิยมมากโดยเฉพาะใช้กับการเจียระไนเพชร >
- แบบขั้นบันได (Step cut) เป็นการเจียระไนแบบสี่เหลี่ยมผืนผ้าและมีการเรียงตัวแบบขั้นบันได ส่วนมากจะนิยมเจียระไนมรกต การเจียระไนแบบนี้จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เจียระไนแบบมรกต (Emerald Cut)
- แบบผสม (Mixed Cut) เป็นการเจียระไนผสมระหว่างเหลี่ยมเกสร (Brilliant cut) ซึ่งอยู่ด้านบนของพลอยและด้านล่างเป็นแบบขั้นบันได (Step cut)
- แบบหลังเบี้ย (Cabochon) เป็นการเจียระไนแบบดั้งเดิม มีลักษณะเป็นโดมโค้งเรียบและขัดเงา โดยอาจจะสูงหรือเกือบแบนก็ได้ เหมาะสำหรับอัญมณีที่มีการผ่านแสงน้อยและมีตำหนิมาก เช่น หยกเจไดท์ (Jedeite) มรกต (Emerald) เทอร์ควอยซ์ (Turquoise) ทับทิม (Ruby) และพลอยที่มีปรากฏการณ์พิเศษ เช่น สตาร์ซัฟไฟร์ (Star Supphire) สตาร์ทับทิม (Start Ruby)
- แบบก้อนมน (Tumbled) มีรูปร่างไม่แน่นอนก้อนมีผิวเรียบ มักใช้เป็นพลอยประดับที่มีราคาค่อนข้างต่ำ
- ลูกประคำ (Bead) มักจะเจาะรูไว้ให้ร้อยเป็นเส้น ตัวอย่างเช่น ไข่มุก
- แกะสลักนูน (Cameo) แกาะเป็นรูปภาพนูนขึ้นจากเนื้ออัญมณี
- แกะสลักจม (Intaglio) แกะรูปภาพจมลงในเนื้ออัญมณี
- แบบก้อนแบนราบขนานกับผิว (Tablet) อาจเป็นรูปไข่แบนหรือสี่เหลี่ยมแบน
- แกะสลัก (Carved) แกะสลักอัญมณีเป็นรูปต่างๆ
- แบบก้อนหยาบ (Rough) เป็นพลอยก้อนดิบที่ไม่ได้เจียระไนหรือขัดเงา
Asscher | |
Trillant | |
Cabochon | |
Cushion | |
Emerald | |
Heart | |
Marquise | |
Oval | |
Pear | |
Princess | |
Radiant | |
Round |